วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Sprite Case Study


Case Study 1
การที่สไปรท์มีการสื่อสารแบบ Globalization และมีพรีเซ็นเตอร์ส่วนใหญ๋เป็นชาวยุโรป จึงอาจจะทำให้วัยรุ่นฝั่งเอเชียรู้สึกน้อยอกน้อยใจ สไปรท์จึงมีการผนึกพลังความซ่าของ 2 ซูเปอร์สตาร์จาก 2 วงการ เจย์ โจว และ โคบี้ ไบรอัน โปรเจ็คพิเศษที่นำ เจย์ โจว ซูเปอร์สตาร์วงการบันเทิงและ โคบี้ ไบรอัน ซูเปอร์สตาร์ NBA มาร่วมร้องเพลง Spark ซาวด์แทร็กหนังโฆษณา "สไปรท์" คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณอะไรมากสำหรับเจย์ โจว ศิลปินมากความสามารถชาวไต้หวัน ที่โดดเด่นทั้งการร้อง แต่งเพลง เล่นดนตรี การแสดง การกำกับ และผลงานการแสดงล่าสุดของเจย์ก็ส่งให้เขาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการรับบทนำในภาพยนตร์อันดับ 1 Box Office อย่าง The Green Hornet ซึ่งถือว่าเป็นการผนึกกำลังที่เข้มแข็งและน่าสนใจมากเลยทีเดียว



Case study 2
          เราได้ชมโฆษณาที่เป็นแนวสตรีทกันมาพอสมควรแล้ว เราลองหันมาดูโฆษณาที่ฉายกันในยุโรปแล้วมาโดนแบนในหลายๆประเทศของเอเชียกัน เราลองมาดูแล้ววิเคราะห์กันดีกว่าว่าโฆณษาสไปรท์แบบนี้เป็นอย่างไรบ้าง



โฆษณาตัวนี้เป็นแนว Sex Appeal ซึ่งถ้าฉายในฝั่งยุโรปก็ดูน่าจะไม่มีปัญหาอะไรมากเพราะฝั่งยุโรปส่วนมากจะเป็นประเทศที่ค่อนข้างจะ Free sex การโฆษณาแบบนี้ก็อาจจะดึงดูดวัยรุ่นได้ เมื่อคนฝั่งยุโรปดูอาจจะเป็นเรื่องขำขัน แต่พอเข้ามาในเอเชียซึ่งยังมีหลายประเทศที่มองเรื่อง Sex เป็นเรื่องที่ไม่ควรนำมาเผยแพร่ทางสาธารณะซึ่งจริงๆแล้วเราลองมาวิเคราะห์ดูการที่สไปรท์ออกโฆษณาแบบนี้มาก็ไม่ได้มีความผิดอะไรแต่แค่ควรจะศึกษาคนในประเทศนั้นๆก่อนว่าคนในพื้นี่นั้นๆมีวัฒนธรรมอย่างไร แล้วก็ใช้โฆษณาให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศเท่านี่ก็น่าจะไม่มีปัญหา วัยรุ่นทั่วโลกก็คงจะสนุกสดชื่นกับสไปรท์ได้เต็มที่เหมือนๆแล้ว

Case Study 3
          เคสนี้เป็นแคมเปญของสไปรท์ในประเทศบราซิลที่เค้าได้แปลงเครื่องกดน้ำอัดลมให้กลายเป็นเครื่องอาบน้ำเย็นขนาดใหญ่ เป็นการ Refreshing ผู้คนที่อยู่ท่ามกลางหาดทรายอันร้อนระอุ ทำให้ชาวบราซิลได้รู้สึกสดชื่นเหมือนสโลแกนของสไปรท์ เครื่องอาบน้ำเย็นนี้ถือว่ามีความสร้างสรรค์และตอบโจทย์เรื่องความสดชื่นได้ดีมาก แคมเปญนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมากเพราะ สามารถทำให้ผู้คนเกิดประสบการณ์กับแบรนด์และยังทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำได้อย่างดี ถือว่าเป็นการตลาดที่ไอเดียบรรเจิดสุดๆเลยทีเดียว


Sprite in Thailand


ล่าสุดบริษัทเครื่องดื่มน้ำอัดลมสไปรท์ได้มีการรุกตลาดด้วยแคมเปญใหม่ "ปลุกความสดชื่น ปลุกสไปรท์ในตัวคุณ" ที่วางภาพของแบรนด์สไปรท์ให้เป็นเครื่องดื่มที่ปลุกความสดชื่น ทําให้จิตใจและความคิดปลอดโปร่งพร้อมที่จะปลดปล่อยศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ มี "เดรค" ศิลปินฮิปฮอปชื่อดังชาวแคนาดาเป็นพรีเซนเตอร์คนล่าสุุด

เรามาลองดูตัวอย่างโฆษณาของสไปรท์ในเมืองไทยบ้างดีกว่าว่าจะสดชื่นและสร้างสรรค์ได้มากขนาดไหน


เทรนด์ในอนาคตของสไปรท์ในเมืองไทยจะเป็นอย่างไรบ้าง?
           เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าหน้าจอเล็กๆของสมาทโฟนได้กลายเป็นสื่อทรงพลังมากในขณะนี้  ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการรีแบรนด์ สไปร์ทโดยโฆษณาผ่านมือถือ เพื่อจับกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งอนาคตคือผู้ใหญ่ที่กลายเป็นลูกค้าใหม่ของ 




Sprite in Asia


สไปรท์มีการสื่อสารทางการตลาดแบบ Globalization คือ สไปรท์ใช้ Positioning แบบเดียวกันพูดบอกคนทั้งโลก ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆอย่างเช่น สไปรท์ทำโฆษณาออกมา1ตัว ทุกคนทั่วโลกก็จะได้ชมโฆษณาตัวนี้เหมือนกัน ต่างกันแค่เปลี่ยนภาษาให้เป็นของประเทศนั้นๆ  นั่นเอง เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นประเทศอังกฤษ  ประเทศจีน หรือประเทศไทย โดยหลักๆแล้วเราก็จะได้รับสารคล้ายๆกันหมดในทำนองว่า ปลุกความสดชื่น ปลุกสไปรท์ในตัวคุณ

เรามาดูตัวอย่าง TVC ของ สไปรท์กันบ้างดีกว่าเผื่อจะมีบางคนยังไม่ค่อยเห็นภาพ



การที่สไปรท์จะเข้าถึงผู้คนต่างวัฒนธรรมในแต่ละประเทศได้นั้น การใช้การโฆษณาแบบ Globalization น่าจะไม่ใช่แนวทางที่ดีนัก เพราะฉะนั้นในแต่ละประเทศจะมีกิจกรรม Event และสื่อบางสื่อ ที่ทำออกมาแตกต่างกันบ้างตามความเหมาะสม เช่น การใช้ดาราของประเทศนั้นๆมาเป็นพรีเซ็นเตอร์โปสเตอร์ หรือ การจัดกิจกรรม Event เพื่อให้เข้ากับคนในประเทศนั้นๆ  เป็นต้น

(Sprite in Korea)

(Sprite in China)




History of "Sprite"


เราทุกคนก็คงจะรู้กันอยู่แล้วว่าสไปรท์ เป็นน้ำอัดลมสีใสกลิ่นมะนาวซาบซ่าเพิ่มความสดชื่นให้กับทุกคน แต่จะมีซักกี่คนที่จะรู้ว่าจริงๆแล้ว สไปรท์เป็นน้ำอัดลมที่ปราศจากคาเฟอีน และยังถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Coca-Cola โดยเจ้าน้ำอัดลมสไปรท์นี้ ได้ถูกสร้างมาเพื่อเป็นคู่ต่อกรหลักกับเครื่องดื่มน้ำอัดลมเซเว่นอัพ ที่อยู่ในเครือคู่แข่งตัวฉกาจอย่างบริษัทของเป๊ปซี่  แต่สิ่งที่น่าสนใจมากๆอีกอย่างหนึ่งก็คือ จริงๆแล้ว ชื่อแบรนด์สไปรท์นี้เป็นชื่อที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการ์ตูน "Sprite Boy" ซึ่งเคยเป็นมิ่งขวัญของ Coca-Cola ในแคมเปญโฆษณาของปี 1940 และ 1950 ซึ่งนี่ก็เป็นที่มาของชื่อน้ำอัดลมที่ทั่วโลกรู้จักในนาม "Sprite" นั่นเอง



      สไปรท์เป็นที่นิยมมากในคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 เพราะเมื่อทำการโฆษณาได้ไม่นาน  ก็มีหลายเพลงที่แต่งขึ้นโดยอ้างถึงชื่อสไปรท์ ทำให้ชื่อนี้ติดหูผู้คนเป็นจำนวนมาก และสไปรท์ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องเมื่อในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงต้น 1980 เพราะได้มีสโลแกนในโฆษณาทำให้ผู้คนจดจำชื่อของสไปรท์ได้อย่างดี และเป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยรุ่น และในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 สไปรท์ได้เริ่มมีการโฆษณาปรากฏทางโทรทัศน์และวิทยุ และต่อมาในปี 2000 ได้มีการออกแบบกระป๋องและโลโก้ใหม่แต่ก็ยังคงโทนสีหลักของ สไปรท์ก็คือสีเงิน สีเขียว น้ำเงิน  





      และในปัจจุบันนี้สไปรท์ก็ได้รับชัยชนะไปอย่างสวยงาม หลังจากฝ่าฟันต่อสู่ศึกกับเซเว่นอัพมาอย่างยาวนาน โดยที่สไปรท์ได้เป็นผู้นำตลาดในหมวดหมู่น้ำโซดามะนาว และยังได้ติดอันดับ 4 ของน้ำอัดลมทั่วโลกอีกด้วย